บทที่ 2 รู้เท่าทันการสูญเสียการได้ยิน
ส่งผลต่อโรคสมองและหลอดเลือดอย่างไร?

ควรเริ่มให้ความสำคัญกับสุขภาพการได้ยินตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

ในฐานะของแพทย์ โดยทั่วไปคุณอาจเริ่มจากกระบวนการสอบถามข้อมูลผู้ป่วยว่าเคยทดสอบการได้ยินหรือไม่ และนอกจากส่งต่อผู้ป่วยไปยังกระบวนการทดลองประสบการณ์การได้ยินพร้อมผลักดันส่งเสริมการเข้ารักษาแก้ไขปัญหาการได้ยิน แพทย์ยังควรที่จะต้องแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับการละเลยความเสี่ยงของปัญหาสูญเสียการได้ยิน รวมถึงชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของโอกาสที่จะการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลอันตรายถึงชีวิต

หัวข้อที่ได้รับการวิจัยเป็นจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า สุขภาพการได้ยินนั้นมีความสัมพันธ์สอดคล้องต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด

ความเชื่อมโยงระหว่างหัวใจและการได้ยิน

ความผิดปกติของสุขภาพหลอดเลือดหัวใจนั้น อาจส่งผลทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่เพียงพอ และส่งผลกระทบเกิดความเสียหายต่อหลอดเลือดในหูชั้นใน ซึ่งหูชั้นในนั้นค่อนข้างอ่อนไหวต่อการไหลเวียนของเลือด และเหตุนี้บ่อยครั้งพบเห็นความผิดปกติเกิดขึ้นที่ความถี่ต่ำ ซึ่งความผิดปกติในส่วนของความถี่ต่ำทั้งหมดนั้น อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอันตรายที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดหัวใจตามหลักงานทดลองวิจัย ความผิดปกติของความถี่ต่ำที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดหัวใจ  นักโสตวิทยาได้ทำการทดสอบคนไข้เป็นจำนวน 1168 คน เพื่อยืนยันเกี่ยวกับสุขภาพของหลอดเลือด  และรายงานวิจัยนี้ได้ใช้ทดสอบ ในช่วงอายุทุกเพศทุกวัยโดยมีการควบคุมสังเกตความสัมพันธ์ของรูปแบบการได้ยินและการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดหัวใจ

“การวิจัยนี้ถูกนำไปใช้กับผู้เข้าร่วม 90 คนจากคลินิกโรคหัวใจและคลินิกผู้สูงอายุ ผู้เข้าร่วมแต่ละคนจะได้รับการตรวจการได้ยินทุกรูปแบบ

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการสูญเสียการได้ยินที่ความถี่ต่ำมีความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคที่จะเกิดขึ้นอื่นๆตามอายุ เช่น ความดันโลหิตสูง,เบาหวาน,การสูบบุหรี่และไขมันในเลือดสูง

การสูญเสียการได้ยินที่ความถี่ต่ำยังคงมีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจดังต่อไปนี้

  • การเปลี่ยนแปลงหลอดเลือดสมอง (โรคหลอดเลือดสมองและอาการขาดเลือดชั่วคราว)
  • โรคหลอดเลือดส่วนปลาย
  • โรคหลอดเลือดแดงใหญ่
  • กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

จึงได้ข้อสรุปว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะหลอดเลือดหัวใจจะปรากฏอยู่ในรูปแบบการได้ยินที่สังเกตุเห็นได้

สุขภาพหลอดเลือดหัวใจส่งผลต่อการได้ยินโดยตรง

โรงพยาบาล Brigham and Women’s Hospital เพิ่งตีพิมพ์งานวิจัยในวารสารการแพทย์ของสหรัฐฯ ซึ่งระบุว่าการออกกำลังกายสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินในผู้หญิงได้ ในขณะเดียวกันงานวิจัยยังพบว่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่สูงขึ้นและรอบเอวที่กว้างขึ้นมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินมากขึ้น

【 มีหลักฐานบ่งชี้ว่า การเสื่อมของสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดสามารถส่งผลเชิงลบต่อการได้ยิน…การปรับปรุงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดอาจทำให้การได้ยินดีขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ใหญ่ที่อยู่ในช่วงอายุน้อย 

นักวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมีแนวโน้มที่จะสูญเสียการได้ยิน ดังนั้นพวกเขาจึงควรได้รับการตรวจประเมินการได้ยินไปพร้อมกัน นอกจากนี้ พวกเขายังค้นพบเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงระหว่างการสูญเสียการได้ยินในความถี่ต่ำกับโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองจำนวนมาก

ในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา งานวิจัยจำนวนมากได้บ่งชี้ถึงผลกระทบเชิงลบของความเสื่อมของสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดที่ส่งผลต่อระบบประสาทการได้ยินทั้งส่วนปลายและส่วนกลาง รวมถึงการปรับปรุงศักยภาพเชิงบวกต่อระบบประสาทการรับรู้ของผู้ที่มีปัญหาโรคหลอดเลอดหัวใจ งานวิจัยบางชิ้นพบว่ากลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับการพัฒนาระบบการรับรู้และสุขภาพหลอดเลือดหัวใจนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างเห็นได้ชัด “หากความสัมพันธ์นี้ได้รับการพิสูจน์เพิ่มเติม เราจะมีโอกาสหาวิธีแก้ไขที่เป็นไปได้สำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่การได้ยินบกพร่องที่ประสาทหูเสื่อม ปัจจุบันพบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมากระหว่างความเสียหายของการได้ยินบางประเภทกับโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย เนื่องจากการสูญเสียการได้ยินเป็นเครื่องบ่งชี้ที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ป่วยที่มีการได้ยินบกพร่องจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงของโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจ จึงควรพิจารณาให้เข้ารับการตรวจและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมหากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่ามีโรคหลอดเลือดหัวใจ แนะนำให้ตรวจการได้ยินอย่างสม่ำเสมอ และช่วยเหลือด้วยเครื่องช่วยฟังเพื่อลดการสูญเสียการได้ยินและปรับปรุงคุณภาพชีวิต ซึ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ พวกเขาควรรู้ความสำคัญในการแจ้งแพทย์ของตนเกี่ยวกับสถานะการสูญเสียการได้ยิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการสูญเสียการได้ยินที่ความถี่ต่ำ เนื่องจากความเสี่ยงของการสูญเสียการได้ยินความถี่ต่ำอาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดหัวใจ

ในทางปฏิบัติ การสูญเสียการได้ยินความถี่ต่ำเป็นตัวบ่งบอกถึงโรคหลอดเลือดหัวใจหรือสภาวะอื่นๆ ที่กำลังเกิดขึ้น

ผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินในความถี่ต่ำถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงของโรคหลอดเลือดหัวใจและควรได้รับการส่งต่อเพื่อการดูแลรักษาที่เหมาะสม

ความเสียหายของการได้ยินประเภทต่างๆ มีความสัมพันธ์อย่างมากกับโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และสามารถใช้เป็นการตรวจสอบกลุ่มเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

ศูนย์การได้ยิน Digibionic เรามีบริการครบครัน

ไม่ว่าจะเป็นการตรวจการได้ยิน ทดลองเครื่องช่วยฟัง ให้คำปรึกษาด้านการได้ยินโดยไม่มีค่าใช้งาน และยังมีบริการถึงบ้านในเขตกรุงเทพฯสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกเข้ามาที่สาขาอีกด้วย ตอนนี้เรามีสาขาทั่วกรุงเทพฯที่พร้อมให้บริการคุณอย่างสะดวก ดังนี้
1. สาขาเสนานิคม
2. สาขาสามยอด
3. สาขาสะพานควาย
4. สาขาอุดมสุข
5. สาขาบางกะปิ
6. สาขาบางแค

ทุกสาขาของเรามีผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพที่มีความรู้และประสบการณ์ในการให้คำแนะนำและบริการที่ดีที่สุด การเข้ามาที่ศูนย์การได้ยิน Digibionic จะช่วยให้คุณได้รับการประเมินการได้ยินที่ละเอียดและคำแนะนำที่ตรงตามความต้องการของคุณ อย่ารอช้าที่จะติดต่อศูนย์การได้ยิน Digibionic ที่ใกล้คุณ หรือโทร 02-115-0568 เพื่อจองการนัดหมาย
เราพร้อมทำให้คุณสามารถเพลิกเพลินกับเสียงรอบข้างได้อย่างเต็มที่และใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ

บทความน่าสนใจ

บทที่ 3 หกล้มบ่อย? การสูญเสียการได้ยินอาจเป็นสาเหตุ!

แพทย์มักจะตรวจสอบผู้สูงอายุเป็นประจำ โดยแนะนำให้ตรวจสอบสายตา ควบคุมยาที่ใช้ เพื่อดูว่ายามีผล…

บทที่ 4 เชื่อมโยงการได้ยินกับเบาหวาน ความรู้ที่คุณไม่ควรพลาด!

ในฐานะแพทย์ คุณอาจจะเริ่มต้นด้วยการสอบถามผู้ป่วยว่าพวกเขาเคยรับการตรวจการได้ยินหรือไม่

บทที่ 5 การรักษามะเร็งกับการสูญเสียการได้ยินสิ่งสำคัญที่คุณต้องรู้!

ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามะเร็ง การสูญเสียการได้ยินมีความเชื่อมโยงกับการใช้ยาบางชนิดในการรักษา

อย่าลืมกดติดตามเพจ เครื่องช่วยฟัง Hearing Aids Digibionic
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารกิจกรรมและโปรโมชันของเรานะคะ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save