บทที่ 3 หกล้มบ่อย? การสูญเสียการได้ยินอาจเป็นสาเหตุ!

สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุหกล้มและบาดเจ็บมีหลายประการ
แต่สามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันได้ล่วงหน้า

แพทย์มักจะตรวจสอบผู้สูงอายุเป็นประจำ โดยแนะนำให้ตรวจสอบสายตา ควบคุมยาที่ใช้ เพื่อดูว่ายามีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการง่วงหรือไม่ นอกจากสาเหตุทั่วไปแล้ว อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุหกล้มคือปัญหาการได้ยินที่ไม่ได้รับการรักษา มีการวิจัยพบว่าการสูญเสียการได้ยินเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการหกล้ม ข้อมูลนี้จำเป็นต้องเผยแพร่ให้ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีทราบ และกระตุ้นให้พวกเขารักษาปัญหาการได้ยินเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การดูแลสุขภาพโดยรวม ผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินตั้งแต่ 25 เดซิเบล (ถือเป็นการสูญเสียการได้ยินระดับเบา) มีโอกาสหกล้มมากกว่าผู้ที่ไม่มีปัญหาการได้ยินถึง 3 เท่าหรือมากกว่านั้น ทุก ๆ การสูญเสียการได้ยินที่เพิ่มขึ้น 10 เดซิเบล ก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการหกล้มมากขึ้นถึง 1.4 เท่า

การสูญเสียการได้ยินทำให้ผู้ป่วยหกล้มและบาดเจ็บ

การสูญเสียการได้ยินทำให้ผู้ป่วยหกล้มและบาดเจ็บต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล ในกลุ่มชาวอเมริกันที่มีอายุเกิน 65 ปี การหกล้มเป็นสาเหตุโดยตรงหรือสาเหตุร่วมของการบาดเจ็บและเสียชีวิต ผู้สูงอายุมักจะได้รับบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนแรง บาดเจ็บที่สะโพกและกระดูกส่วนอื่น ๆ จากการหกล้ม

นอกจากต้นทุนแรงงานแล้ว การอยู่ในโรงพยาบาลนานขึ้น การผ่าตัดและการรักษาที่เกี่ยวข้องยังสร้างค่าใช้จ่ายทางการแพทย์หลายพันล้านดอลลาร์ในกรณีที่รุนแรง ในฐานะที่เป็นแพทย์หูคอจมูกและนักวิชาการด้านโรคระบาด ดร.แฟรง ลินน์ ได้ทำการวิจัยอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยิน และระบุถึงความสัมพันธ์กันระหว่างการสูญเสียการได้ยินกับการหกล้ม โดยให้เหตุผลดังนี้:

  • ผู้ป่วยที่มีปัญหาการได้ยินอาจไม่สามารถรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ดีเท่าที่ควร ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการหกล้ม
  • ในสถานการณ์ที่เกิดความเสื่อมถอยทางการรับรู้ของผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินเพิ่มขึ้น ทำให้ระบบการทำงานของสมองนั้นมีจำกัด ซึ่งต้องแบ่งไปใช้ในการรักษาสมดุลการเคลื่อนไหวและการเดิน รวมถึงการประมวลผลการได้ยิน
  • โรคที่เกี่ยวกับหูชั้นในอาจทำให้เกิดความบกพร่องในระบบประสาท ทำให้ความสามารถในการทรงตัวลดลง

“…เนื่องจากผู้สูงอายุที่สูญเสียการได้ยินมีอัตราสูง แต่ส่วนมากไม่ได้รับการรักษา ความเชื่อมโยงระหว่างการสูญเสียการได้ยินและการหกล้มจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก”

ความเชื่อมโยงระหว่างการสูญเสียการได้ยินและความเสี่ยงในการหกล้มนั้นมีความสัมพันธ์กัน การวิจัยยังคงดำเนินต่อไป แต่เราสามารถสรุปได้ว่าแพทย์ควรแจ้งผู้ป่วยเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างการสูญเสียการได้ยินและการหกล้ม แนะนำให้ผู้ป่วยตรวจสอบการได้ยินทุกปี และสนับสนุนให้ผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยฟังตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพการได้ยิน

การสูญเสียการได้ยินจะลดความสามารถในการรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว และลดประสิทธิภาพการประมวลผล ซึ่งอาจส่งผลให้ความเสี่ยงในการหกล้มเพิ่มขึ้น

“ทุกปี ผู้ใหญ่ 1 ใน 3 คน (อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป) จะประสบกับปัญหาหกล้ม ซึ่งการล้มเองก็เป็นสาเหตุหลักของการบาดเจ็บที่ร้ายแรงและไม่ร้ายแรงถึงชีวิต”

งานวิจัยที่สำคัญชิ้นหนึ่งได้ใช้ข้อมูลจากการสำรวจสุขภาพและโภชนาการแห่งชาติในช่วงปี 2001 ถึง 2004 เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการสูญเสียการได้ยินที่ไม่ได้รับการรักษากับการหกล้ม โดยการสำรวจนี้เริ่มสะสมข้อมูลทางการแพทย์ของชาวอเมริกันตั้งแต่ปี 1971

ผู้เข้าร่วมการสำรวจมีอายุระหว่าง 40 ถึง 69 ปี มากกว่า 2,000 คนได้เข้ารับการตรวจการได้ยิน และตอบคำถามที่ว่า “ในช่วงปีที่ผ่านมา คุณเคยประสบกับการหกล้มหรือไม่?” นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้ทดสอบการทำงานของระบบประสาทส่วนหน้าของผู้เข้าร่วม เพื่อศึกษาว่าการสูญเสียการได้ยินมีผลต่อการทรงตัวหรือไม่ ตามรายงานของทีมวิจัย พบว่าผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินระดับเบา (25 เดซิเบล) มีความเสี่ยงในการล้มเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า สำหรับทุกการสูญเสียการได้ยินเพิ่มขึ้น 10 เดซิเบล ความเสี่ยงของการล้มจะเพิ่มขึ้น 1.4 เท่า แม้ว่าจะคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุ เพศ เชื้อชาติ โรคหัวใจและหลอดเลือด และการทำงานของระบบประสาทส่วนหน้า ผลการวิจัยยังคงมีความแม่นยำอยู่มาก

ให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

ศูนย์การได้ยิน Digibionic เรามีบริการครบครัน

ไม่ว่าจะเป็นการตรวจการได้ยิน ทดลองเครื่องช่วยฟัง ให้คำปรึกษาด้านการได้ยินโดยไม่มีค่าใช้งาน และยังมีบริการถึงบ้านในเขตกรุงเทพฯสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกเข้ามาที่สาขาอีกด้วย ตอนนี้เรามีสาขาทั่วกรุงเทพฯที่พร้อมให้บริการคุณอย่างสะดวก ดังนี้
1. สาขาเสนานิคม
2. สาขาสามยอด
3. สาขาสะพานควาย
4. สาขาอุดมสุข
5. สาขาบางกะปิ
6. สาขาบางแค

ทุกสาขาของเรามีผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพที่มีความรู้และประสบการณ์ในการให้คำแนะนำและบริการที่ดีที่สุด การเข้ามาที่ศูนย์การได้ยิน Digibionic จะช่วยให้คุณได้รับการประเมินการได้ยินที่ละเอียดและคำแนะนำที่ตรงตามความต้องการของคุณ อย่ารอช้าที่จะติดต่อศูนย์การได้ยิน Digibionic ที่ใกล้คุณ หรือโทร 02-115-0568 เพื่อจองการนัดหมาย
เราพร้อมทำให้คุณสามารถเพลิกเพลินกับเสียงรอบข้างได้อย่างเต็มที่และใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ

บทความน่าสนใจ

บทที่ 4 เชื่อมโยงการได้ยินกับเบาหวาน ความรู้ที่คุณไม่ควรพลาด!

ในฐานะแพทย์ คุณอาจจะเริ่มต้นด้วยการสอบถามผู้ป่วยว่าพวกเขาเคยรับการตรวจการได้ยินหรือไม่

บทที่ 5 การรักษามะเร็งกับการสูญเสียการได้ยินสิ่งสำคัญที่คุณต้องรู้!

ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามะเร็ง การสูญเสียการได้ยินมีความเชื่อมโยงกับการใช้ยาบางชนิดในการรักษา

บทที่ 1 การสูญเสียการได้ยินกับโรคสมองเสื่อม

“ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยินมีโอกาสที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ได้มากกว่าผู้ที่ได้ยินปกติ…

อย่าลืมกดติดตามเพจ เครื่องช่วยฟัง Hearing Aids Digibionic
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารกิจกรรมและโปรโมชันของเรานะคะ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save