การสูญเสียการได้ยินเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลต่อความมั่นใจในการสื่อสารกับบุคคลอื่นในชีวิตประจำวัน การสูญเสียการได้ยินไม่ว่าจะอยู่ในระดับความรุนแรงใด จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพลดลงและอาจต้องขอคู่สนทนาพูดซ้ำ พูดแล้วอาจจะได้ยินบ้างไม่ได้ยินบ้าง และอาจทำให้คู่สนทนาเกิดความรำคานใจ ไม่อยากจะสนทนาต่อ ส่งผลทั้งความสัมพันธ์และการอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่น
เครื่องช่วยฟัง เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นและช่วยทำให้การได้ยินดีขึ้น เครื่องช่วยฟังประกอบด้วยลำโพง ไมค์โครโฟน ตัวขยายเสียง ในบางรุ่นมีชิฟประมวลผลที่สามารถปรับความละเอียดของเสียงได้ ในบางรุ่นเชื่อมต่อบลูทูธ รับโทรศัพท์ หรือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อรับฟังเสียงจากอุปกรณ์นั้นๆได้ ซึ่งในปัจจุบันมีเครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุให้เลือกหลากหลายรูปแบบ หลายระดับราคา ดังนั้นเราจึงควรเลือกเครื่องช่วยฟังให้เหมาะสมกับการได้ยินของเรา
ปัจจุบันพบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาทางด้านหัวตึงประสาทหูเสื่อมมากถึงร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุทั้งหมด เริ่มตั้งแต่อายุ 60 – 80 ปี โดยจะพบปัญหาประสาทหูเสื่อมและมีอาการหูตึงตามมา วันนี้ดิจิไบโอนิกจะมาแนะนำวิธีการเลือกเครื่องช่วยฟังสำหรับผู้สูงอายุ ดังนี้
1. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการเลือกประเภทเครื่องช่วยฟัง
หากคุณเริ่มมีปัญหาในการได้ยิน ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านโสตสัมผัสวิทยาโดยเร็วที่สุด ผู้เชี่ยวชาญจะทดสอบการได้ยินของคุณโดย ออดิโอแกรม ซึ่งจะทดสอบโดยการส่งสัญญาณเสียงผ่านหูฟังทีละข้าง การทดสอบจะช่วยประเมินขอบเขตของการสูญเสียการได้ยินว่ามีความสูญเสียมากน้อยเพียงใด หากมีการสูญเสียการได้ยิน อาจต้องใช้เครื่องช่วยฟังช่วยแก้ปัญหา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าการสูญเสียการได้ยินของคุณอยู่ในระดับใด ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำเครื่องช่วยฟังโดยพิจารณาจากผลการทดสอบ ซึ่งการทดสอบโดยออดิโอแกรมจะให้ผลที่แม่นยำและตอบโจทย์การช่วยเลือกเครื่องช่วยฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เลือกตามลักษณะเครื่องช่วยฟัง
เครื่องช่วยฟังมีหลายประเภทซึ่งจะแบ่งตามลักษณะดังนี้ เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู (BTE), เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู (RIC) และเครื่องช่วยฟังแบบใส่ในหู (ITC)
เครื่องช่วยฟังแบบใส่ในหู (ITC) เป็นเครื่องช่วยฟังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากตัวเครื่องเล็กมาก มีแค่ตัวเครื่องเท่านั้นและซ่อนอยู่ในช่องหู ทำให้ดูเหมือนไม่ได้ใส่เครื่องช่วยฟัง ขนาดเล็ก กระทัดรัดเป็นแบบพอดีกับช่องหู ช่วยเสริมบุคลิกภาพและปกปิดการมองเห็นได้ดีเยี่ยม มีหลายรุ่นและฟังชันท์ให้เลือกมากมาย เหมาะกับผู้ที่สูญเสียการได้ยินระดับปานกลาง-รุนแรง
3. สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนซื้อเครื่องช่วยฟัง
เทคโนโลยีและฟังก์ชั่น เมื่อรู้ระดับการสูญเสียแล้ว ต่อไปเราก็จะมาเลือกในส่วนของฟังก์ชั่นต่างๆ มี 2 แบบใหญ่หลักๆ คือ
แบบอนาล็อก ระบบอนาล็อกเป็นการขยายเสียงแบบดั้งเดิม จะทำหน้าที่รับเสียงแล้วขยายเสียงออกไปเท่ากันในทุกๆ ความถี่
แบบดิจิตอล ระบบดิจิตอลจะสามารถปรับความถี่ได้ละเอียด ทั้งช่วยเสียงสูงและช่วงเสียงต่ำ ทำให้เสียงที่ได้ยินละมุนมากกว่า มีฟังก์ชั่นตัดเสียงรบกวนภายนอก สามารถตั้งโหมดสำรองไว้เพื่อเปลี่ยนตามสถานการณ์การได้ยินที่แตกต่างกัน เช่น กรณีที่เราไปร้านอาหารและเสียงดังมากจนเราไม่สามารถโฟกัสเสียงของผู้ที่สนทนาได้ เราก็สามารถเปลี่ยนโหมดเพื่อลดเสียงรบกวนและทำให้ได้ยินชัดเจนขึ้นได้
4. ประเด็นสําคัญในการเลือกเครื่องช่วยฟังสําหรับผู้สูงอายุ
การออกแบบเครื่องช่วยฟังมีน้ําหนักเบาและช่วยปกปิดการมองเห็นจะช่วยให้ผู้สูงอายุผู้สูงอายุมีความมั่นใจมากขึ้น และลดการปฏิเสธการใส่เครื่องช่วยฟังลงได้
เครื่องช่วยฟังที่สามารถปรับแต่งได้ผ่านแอพ นอกเหนือจากการปรับแต่งโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินแล้ว เครื่องช่วยฟังที่สามารถปรับแต่งเสียงได้ผ่านแอพพลิแคชั่นเพื่อปรับแต่งเสียงให้เหมาะกับการได้ยินของตนเองได้ จะช่วยให้การได้ยินสบายขึ้นเมื่อสวมใส่ และยืดหยุ่นต่อการใช้งานเพราะสามารถปรับได้ตลอดเวลาเมื่อต้องการ
การเลือกใช้เครื่องช่วยฟังสำหรับผู้สูงอายุนั้นจำเป็นต้องตรวจการได้ยิน ทดสอบการได้ยินก่อนใช้ เพื่อเลือกเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับระดับการสูญเสีย ขนาดลำโพงขยายเสียงที่พอดีกับผู้ใช้ และวิธีการดูแลรักษาเครื่องช่วยฟังที่ถูกวิธี จะช่วยให้เครื่องช่วยฟังมีประสิทธิภาพอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น
วิธีขอรับเงินอุดหนุนประกันสังคมสำหรับเครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุ
Head Office 3,5 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เปิดทำการวันจันทร์-วันเสาร์ 09:00-18:00 น.
สำรองคิวล่วงหน้าหากต้องการมาในวันอาทิตย์
copyright © digibionic 2023 all rights reserved
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า