ในฐานะของแพทย์ โดยทั่วไปคุณอาจเริ่มจากกระบวนการสอบถามข้อมูลผู้ป่วยว่าเคยทดสอบการได้ยินหรือไม่.และนอกจากส่งต่อผู้ป่วยไปยังกระบวนการทดลองประสบการณ์การได้ยินพร้อมผลักดันส่งเสริมการเข้ารักษาแก้ไขปัญหาการได้ยิน แพทย์ยังควรที่จะต้องแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับการละเลยความเสี่ยงของปัญหาสูญเสียการได้ยิน รวมถึงชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของโอกาสที่จะการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลอันตรายถึงชีวิต
“ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยินมีโอกาสที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ได้มากกว่าผู้ที่ได้ยินปกติ…จากการวิจัยของเราพบว่าการพูดคุยปรึกษากันระหว่างแพทย์และผู้ป่วยเพื่อเร่งรีบแก้ไขปัญหาการสูญเสียนั้นสำคัญเป็นอย่างมาก”
การวิจัยหลายรายการชี้ให้เห็นว่าการสูญเสียการได้ยินอาจเป็นอาการเริ่มแรกของโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ ดังนั้นการเพิกเฉยต่อการรักษาการสูญเสียการได้ยินอาจส่งผลทำให้ความสามารถในการรับรู้ของผู้ป่วยลดลง และทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการพึ่งพาตนเอง การจัดให้ผู้ป่วยตรวจการได้ยินและเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะช่วยลดผลกระทบด้านลบต่อความสามารถในการรับรู้ที่เกิดจากการสูญเสียการได้ยินได้
ผลงานวิจัยของ ดร.แฟรงค์ แมคลินน์ เกี่ยวกับปัญหาการสูญเสียการได้ยินและความสามารถในการรับรู้ งานวิจัยนี้มักถูกผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หลายคนนำไปอ้างอิง โดยงานวิจัยนี้ใช้ระยะเวลา 6 ปีในการสังเกตการณ์กลุ่มผู้สูงอายุจำนวน 1,984 คน ที่มีอายุเฉลี่ย 77 ปี และติดตามการสูญเสียการได้ยินและการพัฒนาความสามารถในการรับรู้ของพวกเขา เพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างการสูญเสียการได้ยินและการเสื่อมถอยของการรับรู้
ข้อสรุปของงานวิจัยระบุว่า ถึงแม้ว่าจะต้องทำการศึกษาต่อไปเพื่อยืนยันความเชื่อมโยงนี้อย่างแน่ชัด แต่สิ่งหนึ่งที่สามารถยืนยันได้คือ การสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะทำให้พวกเขาสูญเสียการรับรู้และสุขภาพจิต นอกจากนี้ งานวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า ยิ่งการสูญเสียการได้ยินรุนแรงมากเท่าไร ความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาการรับรู้ก็จะสูงขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การเสื่อมถอยทางสติปัญญาที่รุนแรงขึ้น และการวิจัยค้นพบว่ามีแนวโน้มที่ความเสี่ยงอาจเกิดความบกพร่องทางการรับรู้โดยเริ่มตั้งแต่ในผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินเพียงเล็กน้อย
【งานวิจัยยังค้นพบอีกว่า การสูญเสียการได้ยินอาจเร่งให้สมองหดตัวลง (การหดตัวของเนื้อสมองสีเทา) และยิ่งทำให้สมองแย่ลงในการประมวลผลทางภาษา การใช้เครื่องช่วยฟังอาจช่วยให้สามารถกระตุ้นการได้ยินได้ดีขึ้นและช่วยปกป้องสมองไม่ให้เสื่อมถอยไป】
ในเดือนมกราคม 2014 โดย ดร.แฟรง แมคลินน์และทีมงาน ได้ทำการวิจัยเปรียบเทียบสมองของผู้ที่มีการได้ยินปกติกับผู้ที่สูญเสียการได้ยิน ผลงานวิจัยใหม่นี้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ โดยได้ทำการติดตามผลผู้เข้าร่วมจำนวน 126 คนตลอดระยะเวลา10ปี และทำการเข้าเครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ทุกปี
จากการเปรียบเทียบผู้ที่ได้ยินปกติ 75 คน กับผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยิน 51 คน พบว่าผู้ที่สูญเสียการได้ยินเริ่มมีการหดตัวของเนื้อสมองสีเทาอย่างรวดเร็ว โดยพบว่ามีการสูญเสียเนื้อสมองเกินกว่าหนึ่งลูกบาศก์เซนติเมตรในส่วนของสมองที่รับผิดชอบการประมวลผลเสียงและโครงสร้างการรับรู้ทางภาษา นอกจากนี้ การหดตัวของเนื้อสมองยังส่งผลต่อสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำและการทำงานของระบบประสาทสัมผัสที่สำคัญ เช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ที่มีการสูญเสียเนื้อสมองในบริเวณเดียวกัน
【ผลกระทบของการสูญเสียการได้ยินที่ไม่เพียงส่งผลต่อรายได้ที่ลดลงเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานที่ด้อยลง รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับความวิตกกังวลและปัญหาการรับรู้อีกด้วย】
เนื่องจากการสูญเสียการได้ยินเป็นหนึ่งในสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ ข้อมูลที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่าการปล่อยให้สูญเสียการได้ยินเรื้อรังโดยไม่รักษามีผลกระทบที่รุนแรงระยะยาว ซึ่่งสำคัญมาก.โดยเฉลี่ยแล้ว หลังจากผู้ที่มีปัญหาการได้ยินพบว่าตนเองเริ่มมีปัญหาการรับรู้ แต่ปล่อยผ่านไปเป็นเวลา 7 ปีถึงจะยอมเข้ารับการรักษา. ดังนั้น การตรวจพบปัญหาการได้ยินและเข้ารับการรักษาในช่วงแรกอย่างทันท่วงที จะช่วยรักษาการได้ยินให้คงไว้ได้ การวินิจฉัยและรักษาในระยะแรกสามารถชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ได้ แพทย์ควรสนับสนุนให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาทันทีที่พบปัญหาการสูญเสียการได้ยิน
เมื่อใช้เครื่องช่วยฟังในการรักษาและป้องกันการสูญเสียการได้ยินนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการได้ยินแล้ว ยังอาจช่วยป้องกันการหดตัวของสมองและภาวะบกพร่องทางการรับรู้ได้อีกด้วย
【ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 1.83 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีภายในปี 2050】
ผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินในความถี่ต่ำถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
แพทย์มักจะตรวจสอบผู้สูงอายุเป็นประจำ โดยแนะนำให้ตรวจสอบสายตา ควบคุมยาที่ใช้ เพื่อดูว่ายามีผล…
ในฐานะแพทย์ คุณอาจจะเริ่มต้นด้วยการสอบถามผู้ป่วยว่าพวกเขาเคยรับการตรวจการได้ยินหรือไม่
Head Office 3,5 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เปิดทำการวันจันทร์-วันเสาร์ 09:00-18:00 น.
สำรองคิวล่วงหน้าหากต้องการมาในวันอาทิตย์
copyright © digibionic 2023 all rights reserved
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า