ทดสอบการได้ยิน

ปรึกษาการได้ยินฟรี

ทดสอบการได้ยินให้เรารู้จักคุณมากขึ้น

Digibionic มีบริการตรวจสอบการได้ยินด้วยเทคนิค PTA โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะเราเชื่อว่าการได้ยินเป็นปัจจัยสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้สามารถสื่อสารกับผู้อื่นและช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นเราจึงมุ่งมั่นที่จะให้บริการด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและบริการที่มีคุณภาพเพื่อให้ทุกคนได้รับการตรวจสอบการได้ยินที่แม่นยำที่สุด

การได้ยินด้วยเทคนิค PTA ของเราเป็นวิธีการทดสอบที่ง่ายและแม่นยำ การทดสอบนี้ใช้เครื่องมือทดสอบการได้ยินเพื่อส่งเสียงในช่วงต่างๆ ไปยังหูผู้รับเพื่อประเมินการตอบสนองและความสามารถในการรับรู้เสียงของผู้รับบริการ การตรวจสอบนี้สามารถทดสอบเสียงที่มีความถี่และความดังแตกต่างกันได้ ช่วยให้ผู้รับบริการเข้าใจสถานะการได้ยินของตนเองและระบุว่ามีปัญหาการได้ยินหรือไม่

การตรวจสอบการได้ยินด้วยเทคนิค PTA ของ Digibionic เป็นการทดสอบที่รวดเร็วและแม่นยำ โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 15 นาทีเท่านั้น ทอดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญและเพื่อให้ผลทดสอบที่มีประสิทธิภาพที่สุด

การทดสอบการได้ยินคืออะไร?

การฟังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราเข้าใจการสื่อสารและการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และ “หู” เป็นอวัยวะที่จะทำให้เราได้ยินได้ฟังสิ่งต่างๆ เราจึงควรดูแลและหมั่นตรวจเช็คหูของเรา ว่ายังทำหน้าที่ในการ “ได้ยิน” อย่างเต็มที่อยู่หรือไม่ และ “การทดสอบการได้ยิน” จะช่วยให้เรารู้และป้องกันการสูญเสียการได้ยินได้

การทดสอบการได้ยิน

เป็นการตรวจการทำงานของหูและระบบโสตประสาท เพื่อประเมินระดับการได้ยินอย่างละเอียด เป็นการตรวจคัดกรองเพื่อเฝ้าระวังภาวะสูญเสียการได้ยิน โดยผู้ที่มีการได้ยิน “ปกติ” จะมีระดับการได้ยินเสียงอยู่ระหว่าง -10 ถึง 25 เดซิเบล หากมากกว่า 25 เดซิเบล ถือว่ามีความผิดปกติของการได้ยิน โดยจะทำการทดสอบระดับการได้ยินผ่านสองทาง คือ การนำเสียงผ่านอากาศ และการนำเสียงผ่านกระดูก ในห้องตรวจที่เก็บเสียงโดยเฉพาะ

เราควรทำการทดสอบการได้ยินตอนไหน?

ก่อนทำการทดสอบการได้ยินคุณสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ว่าคุณมีการได้ยินที่ผิดปกติหรือไม่ เช่น

  • ฟังคำพูดของคู่สนทนาไม่ชัดต้องถามซ้ำบ่อยๆ
  • ฟังเสียงจากโทรศัพท์ไม่ค่อยได้ยิน
  • เปิดโทรทัศน์หรือวิทยุเสียงดังกว่าปกติ
  • คุณต้องพูดเสียงดังขึ้นกว่าเดิม
  • มีอาการหูอื้อบ่อยได้ยินเสียงวี้ดๆ ในหู
  • มีประวัติคนในครอบครัวหูตึงหรือหูหนวก

และอาการอื่นๆ เช่น การได้ยินลดลง, เวียนศีรษะบ้านหมุน, ปวดหู, มีน้ำไหลจากหู, ฟังเสียงพูดไม่ค่อยชัด หรือคนที่ต้องทำงานในที่มีเสียงดังอยู่ตลอดเวลา หากคุณมีอาการดังที่กล่าว แนะนำให้รีบรับการการตรวจเช็คการได้ยินทันที

เราจะเข้าใจระดับเสียงก่อนเลือกเครื่องช่วยฟังได้อย่างไร?

ในชีวิตประจำวันของเรามีเสียงมากมายและในแต่ละเสียงมีระดับความดังและความถี่ที่แตกต่างกัน ซึ่งการสูญเสียการได้ยินจะทำให้คุณไม่ได้ยินเสียงในบางความถี่หรืออาจไม่ได้ยินในหลายความถี่ ดังนั้นเราจะมาบอกตัวอย่างของเสียงในระดับต่างๆ ที่อยู่ใกล้ตัวเราเพื่อให้สามารถทราบและเช็คการได้ยินเบื้องต้นได้

การได้ยินคุณอยู่ระดับไหน

ระดับการได้ยินระดับเสียง dBความสามารถในการได้ยิน
ปกติ0 – 25รับฟังเสียงพูดได้ปกติ
หูตึงเล็กน้อย26 – 40ไม่ได้ยินเสียงพูดเบาๆ
หูตึงปานกลาง41 – 55ฟังปกติในระยะ 3 -5 ฟุต
หูตึงมาก56 – 70

ต้องพูดเสียงดังจึงจะเข้าใจ รับฟังได้ไม่ดี

หูตึงรุนแรง71 – 90อาจได้ยินเสียงตะโกนในระยะ 1 ฟุต แต่ไม่เข้าใจ
หูหนวก91+ ขึ้นไปไม่ได้ยินในที่ที่เสียงดัง

40-60 dB คือระดับเสียงคำพูดปกติ

หากการไม่ได้ยินเสียงเกิน 25 dB HL แสดงว่าการได้ยินผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด หรือเลือกใช้เครื่องช่วยฟัง เพื่อไม่ให้กระทบต่อความสามารถในการได้ยินเสียงจากการสูญเสียการได้ยิน และ อาจส่งผลต่อความสามารถทางภาษาและการสื่อสารอีกด้วย

กราฟแสดงผลการทดสอบ

เมื่อคุณได้กราฟมาจากศูนย์ทดสอบการได้ยิน คุณทราบหรือไม่ว่ากราฟบอกระดับการได้ยินของคุณว่าอยู่ในระดับไหน?

จากตัวอย่างกราฟแสดงผลการได้ยิน ประกอบด้วย

แกนแนวนอนแสดงความถี่ แบ่งออกเป็น 6 ความถี่ ความถี่ต่ำ (250 Hz และ 500 Hz) ความถี่ปานกลาง (1,000 Hz และ 2000 Hz) และความถี่สูง (4000 Hz และ 8000 Hz) ความถี่ที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินมากที่สุด (เสียงพูดของมนุษย์) คือ 1,000 Hz ถึง 4,000 Hz

แกนแนวตั้งแสดงถึงระดับเสียง ซึ่งระดับ 25dB แสดงถึงระดับการได้ยินปกติ หากทดสอบแล้วไม่ได้ยินเสียงเกิน 25 dB แสดงว่าการได้ยินผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดและใช้อุปกรณ์ช่วยฟังเพื่อไม่ให้กระทบต่อความสามารถในการได้ยินเสียง

“วงกลมสีแดงคือการได้ยินของหูข้างขวา” “กากบาทสีน้ำเงินหมายถึงการได้ยินของหูข้างซ้าย” หากสูญเสียการได้ยินมากแสดงว่าคุณมีปัญหาการสูญเสียการได้ยิน คุณต้องได้รับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อดูว่าการได้ยินของคุณลดลงหรือไม่และทำการรักษาอย่างเหมาะสม

Digibionic ให้บริการประเมินการได้ยินฟรี หากคุณมีปัญหาการได้ยิน โปรดรักษาการได้ยินของคุณโดยเร็วที่สุด เรายินดีให้บริการ

ใครควรทำการทดสอบการได้ยิน?

วัยเด็ก
เป็นวัยที่พบน้อยแต่มีอัตราการสูญเสียการได้ยินสูงขึ้นในปัจจุบัน อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ การประสบอุบัติเหตุ หรือ การอยู่ในสภาวะที่มีเสียงดังในระดับที่อันตราย เพราะวัยเด็กเป็นวัยที่ประสาทการได้ยินกำลังพัฒนาและมีความเปราะบางมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก หากมีความบกพร่องด้านการได้ยิน จะทำให้มีปัญหาด้านพัฒนาการการพูดตามมา ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก

วัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
เป็นวัยที่ต้องสื่อสารอยู่ตลอดเวลาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และไม่สามารถขาดการได้ยินได้ เพราะอาจทำให้เกิดปัญหามากมายตามมา และในวัยนี้มีอัตราการสูญเสียการได้ยินที่สูงมาก บางคนไม่รู้ตัวว่าสูญเสียการได้ยิน และอาการแย่ลงตามลำดับหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน ซึ่งวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุมีหลายสาเหตุที่ทำให้การได้ยินลดลง ไม่ว่าจะเป็น การเสื่อมสภาพของอวัยวะตามช่วงวัย มลภาวะทางเสียงในที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงาน รวมถึงการกินยาบางชนิดที่ทำลายประสาทหู ล้วนส่งผลกระทบต่อการได้ยินทั้งสิ้น หากปล่อยไว้และไม่รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะสมองทำงานน้อยลง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อมได้ การตรวจวัดระดับการได้ยินในกลุ่มวัยนี้จึงเป็นการช่วยแก้ปัญหาและลดความรุนแรงของอาการที่อาจเกิดขึ้นได้

ผู้มีปัญหาการได้ยิน
ผู้ที่สูญเสียการได้ยินในระดับต่างๆ ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม ควรเข้ารับการทดสอบการได้ยินทันที หรือ ผู้มีอาการเช่น การได้ยินลดลง, เวียนศีรษะบ้านหมุน, ปวดหู, มีน้ำไหลจากหู, ฟังเสียงพูดไม่ค่อยชัด หรือคนที่ต้องทำงานในที่มีเสียงดังอยู่ตลอดเวลา หากคุณมีอาการดังที่กล่าว แนะนำให้รีบรับการการตรวจเช็คการได้ยินทันที

ทดสอบการได้ยินวันนี้ รับฟรีทันที!

Gift Voucher ส่วนลด!

รับฟรีทันที Gift Voucher ส่วนลดมูลค่า 990.- บาท

เมื่อนัดเข้ารับการทดสอบการได้ยินกับเรา (มีจำนวนจำกัด)

หมายเหตุ: ทดสอบการได้ยินฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ส่วนลดสามารถนำมาใช้กับรายการส่งเสริมการขายที่กำหนดได้ตลอดอายุการใช้งาน

*ด่วน จำนวนจำกัด

สามารถรับได้เมื่อเข้ารับบริการที่ร้าน Digibionic เมื่อเข้ารับบริการทดสอบการได้ยิน

นัดรับบริการและรับของขวัญ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save