คู่มือในการเลือกซื้อเครื่องช่วยฟังสำหรับผู้สูงอายุ

     การสูญเสียการได้ยินเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลต่อความมั่นใจในการสื่อสารกับบุคคลอื่นในชีวิตประจำวัน การสูญเสียการได้ยินไม่ว่าจะอยู่ในระดับความรุนแรงใด จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพลดลงและอาจต้องขอคู่สนทนาพูดซ้ำ พูดแล้วอาจจะได้ยินบ้างไม่ได้ยินบ้าง และอาจทำให้คู่สนทนาเกิดความรำคานใจ ไม่อยากจะสนทนาต่อ ส่งผลทั้งความสัมพันธ์และการอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่น

เครื่องช่วยฟัง เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นและช่วยทำให้การได้ยินดีขึ้น เครื่องช่วยฟังประกอบด้วยลำโพง ไมค์โครโฟน ตัวขยายเสียง ในบางรุ่นมีชิฟประมวลผลที่สามารถปรับความละเอียดของเสียงได้ ในบางรุ่นเชื่อมต่อบลูทูธ รับโทรศัพท์ หรือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อรับฟังเสียงจากอุปกรณ์นั้นๆได้  ซึ่งในปัจจุบันมีเครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุให้เลือกหลากหลายรูปแบบ หลายระดับราคา ดังนั้นเราจึงควรเลือกเครื่องช่วยฟังให้เหมาะสมกับการได้ยินของเรา

ปัจจุบันพบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาทางด้านหัวตึงประสาทหูเสื่อมมากถึงร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุทั้งหมด เริ่มตั้งแต่อายุ 60 – 80 ปี โดยจะพบปัญหาประสาทหูเสื่อมและมีอาการหูตึงตามมา วันนี้ดิจิไบโอนิกจะมาแนะนำวิธีการเลือกเครื่องช่วยฟังสำหรับผู้สูงอายุ ดังนี้

 

1. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการเลือกประเภทเครื่องช่วยฟัง

หากคุณเริ่มมีปัญหาในการได้ยิน ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านโสตสัมผัสวิทยาโดยเร็วที่สุด ผู้เชี่ยวชาญจะทดสอบการได้ยินของคุณโดย ออดิโอแกรม ซึ่งจะทดสอบโดยการส่งสัญญาณเสียงผ่านหูฟังทีละข้าง การทดสอบจะช่วยประเมินขอบเขตของการสูญเสียการได้ยินว่ามีความสูญเสียมากน้อยเพียงใด หากมีการสูญเสียการได้ยิน อาจต้องใช้เครื่องช่วยฟังช่วยแก้ปัญหา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าการสูญเสียการได้ยินของคุณอยู่ในระดับใด ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำเครื่องช่วยฟังโดยพิจารณาจากผลการทดสอบ ซึ่งการทดสอบโดยออดิโอแกรมจะให้ผลที่แม่นยำและตอบโจทย์การช่วยเลือกเครื่องช่วยฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

2. เลือกตามลักษณะเครื่องช่วยฟัง

เครื่องช่วยฟังมีหลายประเภทซึ่งจะแบ่งตามลักษณะดังนี้ เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู (BTE), เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู (RIC) และเครื่องช่วยฟังแบบใส่ในหู (ITC) 

  • เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู (BTE) เป็นเครื่องช่วยฟังที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะออกแบบให้น้ำหนักเบา สวมใส่สบาย มีลำโพงอยู่ในตัวเครื่องช่วยฟัง มีท่อนำเสียงส่งเสียงเข้าไปในช่องหู ลำโพงขยายเสียงของเครื่องช่วยฟังมีการออกแบบมาให้เหมาะกับระดับการสูญเสียหลายระดับ ซึ่งสามารถเลือกได้ตามระดับการสูญเสียการได้ยิน จะมีตั้งแต่ระดับตั้งแต่การสูญเสียแบบเล็กน้อย-ปานกลาง, ปานกลาง-รุนแรง และ  รุนแรง-รุนแรงมาก  
  • เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู (RIC)  เครื่องช่วยฟังประเภทที่ได้รับความนิยม ด้วยตัวเครื่องกระทัดรัด น้ำหนักเบา ประมวลผลเสียงที่เป็นธรรมชาติ โดยลำโพงจะสอดอยู่ในช่องหู สามารถเลือกให้เหมาะกับระดับการสูญเสียการได้ยินได้ มีตั้งแต่ระดับตั้งแต่การสูญเสียแบบเล็กน้อย-ปานกลาง, ปานกลาง-รุนแรง และ รุนแรง-รุนแรงมาก 
  • เครื่องช่วยฟังแบบใส่ในหู (ITC) เป็นเครื่องช่วยฟังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากตัวเครื่องเล็กมาก มีแค่ตัวเครื่องเท่านั้นและซ่อนอยู่ในช่องหู ทำให้ดูเหมือนไม่ได้ใส่เครื่องช่วยฟัง ขนาดเล็ก กระทัดรัดเป็นแบบพอดีกับช่องหู ช่วยเสริมบุคลิกภาพและปกปิดการมองเห็นได้ดีเยี่ยม มีหลายรุ่นและฟังชันท์ให้เลือกมากมาย เหมาะกับผู้ที่สูญเสียการได้ยินระดับปานกลาง-รุนแรง

 

3. สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนซื้อเครื่องช่วยฟัง 

  • ปัญหาของการได้ยิน การสูญเสียการได้ยินและความต้องการได้ยินของแต่ละคนไม่เท่ากัน ดังนั้นก่อนจะซื้อเครื่องช่วยฟังควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการทดสอบและประเมินผลการได้ยิน ซึ่งจะช่วยให้เลือกใช้เครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับการสูญเสียของตัวเราได้ดีที่สุด
 
  • เทคโนโลยีและฟังก์ชั่น เมื่อรู้ระดับการสูญเสียแล้ว ต่อไปเราก็จะมาเลือกในส่วนของฟังก์ชั่นต่างๆ มี 2 แบบใหญ่หลักๆ คือ

    แบบอนาล็อก  ระบบอนาล็อกเป็นการขยายเสียงแบบดั้งเดิม จะทำหน้าที่รับเสียงแล้วขยายเสียงออกไปเท่ากันในทุกๆ ความถี่  

    แบบดิจิตอล  ระบบดิจิตอลจะสามารถปรับความถี่ได้ละเอียด ทั้งช่วยเสียงสูงและช่วงเสียงต่ำ ทำให้เสียงที่ได้ยินละมุนมากกว่า มีฟังก์ชั่นตัดเสียงรบกวนภายนอก สามารถตั้งโหมดสำรองไว้เพื่อเปลี่ยนตามสถานการณ์การได้ยินที่แตกต่างกัน เช่น กรณีที่เราไปร้านอาหารและเสียงดังมากจนเราไม่สามารถโฟกัสเสียงของผู้ที่สนทนาได้ เราก็สามารถเปลี่ยนโหมดเพื่อลดเสียงรบกวนและทำให้ได้ยินชัดเจนขึ้นได้

  • คุณภาพเสียง ระดับของการประมวลผลเสียงสามารถดูได้ตามจํานวนแชลแนลของเครื่องช่วยฟัง ซึ่งมักจะเป็นตัวบ่งชี้ที่สําคัญของความแตกต่างของประสิทธิภาพและส่งผลต่อราคาเครื่องช่วยฟัง เมื่อเสียงถูกป้อนเข้าไปในเครื่องช่วยฟังยิ่งมีช่องสัญญาณมากเท่าไหร่ ความถี่ของเสียงก็จะประมวลผลได้ดีมากขึ้นและละเอียดมากขึ้นเท่านั้น เครื่องช่วยฟังที่มีแชลแนลมากขึ้นราคาก็ยิ่งสูงขึ้นเช่นกัน
 
  • บริการหลังการขาย หลังจากสวมใส่เครื่องช่วยฟังแล้ว ผู้ใส่ต้องมีการปรับตัวและการปรับเครื่องช่วยฟังอีกสักระยะ เพื่อช่วยให้ผู้สวมใส่ปรับตัวเข้ากับเครื่องช่วยฟังได้ดีขึ้น ซึ่งอาจจะต้องมีการกลับไปที่ศูนย์การได้ยินเป็นประจําเพื่อปรับแต่งเครื่อง เช็คการใช้งาน ทําความสะอาดและบํารุงรักษาอุปกรณ์อยู่เป็นประจำ เพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องช่วยฟังและให้เครื่องช่วยฟังทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
 

4. ประเด็นสําคัญในการเลือกเครื่องช่วยฟังสําหรับผู้สูงอายุ

  • เลือกเครื่องช่วยฟังที่มีคุณภาพเสียงที่ละเอียดอ่อน เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุปรับตัวเข้ากับเครื่องช่วยฟังได้ในระยะเวลาสั้น เครื่องช่วยฟังที่มีคุณภาพเสียงที่ดีจะช่วยลดเสียงรอบข้างและทําให้ผู้สวมใส่รู้สึกสบายเมื่อเริ่มสวมเครื่องช่วยฟังเป็นครั้งแรก เพราะในช่วงแรกของการสวมจะทำให้ผู้สวมใส่ได้ยินเสียงจํานวนมากที่พวกเขาไม่ได้ยินเป็นเวลานาน
  • เครื่องช่วยฟังแบบชาร์จไฟได้ จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีความคล่องแคล่วในการใช้งาน เพราะไม่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีขนาดเล็กบ่อยๆ ดังนั้นการใช้เครื่องช่วยฟังแบบชาร์จไฟได้ ทำให้ไม่ต้องกังวลกับปัญหาและความยุ่งยากในการเปลี่ยนแบตเตอรี่
  • การออกแบบเครื่องช่วยฟังมีน้ําหนักเบาและช่วยปกปิดการมองเห็นจะช่วยให้ผู้สูงอายุผู้สูงอายุมีความมั่นใจมากขึ้น และลดการปฏิเสธการใส่เครื่องช่วยฟังลงได้

  • เครื่องช่วยฟังที่สามารถปรับแต่งได้ผ่านแอพ นอกเหนือจากการปรับแต่งโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินแล้ว เครื่องช่วยฟังที่สามารถปรับแต่งเสียงได้ผ่านแอพพลิแคชั่นเพื่อปรับแต่งเสียงให้เหมาะกับการได้ยินของตนเองได้ จะช่วยให้การได้ยินสบายขึ้นเมื่อสวมใส่ และยืดหยุ่นต่อการใช้งานเพราะสามารถปรับได้ตลอดเวลาเมื่อต้องการ

ดังนั้นเราจึงควรเลือกเครื่องช่วยฟังให้เหมาะสมกับการได้ยินของผู้สูงอายุและควรปรึกษาผู้เชี่ยงชาญเพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง

วันนี้เราจะมาแนะนำ 4 อันดับเครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุที่ดีที่สุด

1. เครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุแบบดิจิตอลคล้องหู รุ่น Morning T1

เครื่องช่วยฟังคล้องหลังหู  BTE แบบดิจิตอล เหมาะกับผู้สูงอายุ ให้เสียงคุณภาพสูง ชัดเจน มีระบบป้องกันการสะท้อนของเสียง พร้อม 3 โหมดการทำงาน
สำหรับผู้สูญเสียการได้ยินระดับปานกลาง 

2. เครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุดิจิตอล เชื่อมต่อคลาวน์แบบทัดหลังหู รุ่น B1

ช่วยระงับเสียงหวีดและเสียงสะท้อนกลับ
ช่วยให้ผู้สวมใส่รู้สึกสบายมีโหมดการทำงานและระบบช่วยการได้ยินบนคลาวด์ทำให้รับฟังเสียงได้ชัดเจนละเอียดมากยิ่งขึ้น
สำหรับผู้สูญเสียระดับ ปานกลาง-รุนแรง 

3. เครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุดิจิตอลแบบคล้องหู รุ่น Morning A4XP

เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง เสียงดังกว่ารุ่น B1 สามารถปรับแต่งเสียงได้ละเอียด ผู้สูงอายุ หูหนวก หูตึง สามารถใช้ได้และการใช้ชีวิตของคุณจะไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป สำหรับผู้สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงมาก

4. เครื่องช่วยฟังดิจิตอลแบบ ACTIVE รุ่น A1

มีที่คล้องคอป้องกันการหลงลืม ตัดเสียงรบกวนภายนอกขั้นสูง ใช้งานได้กับแอปพลิเคชั่น เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ และรับชมความบันเทิงได้ ใช้งานต่อเนื่อง 10 ชม.
สำหรับผู้สูญเสียระดับ ปานกลาง-รุนแรง

การเลือกใช้เครื่องช่วยฟังสำหรับผู้สูงอายุนั้นจำเป็นต้องตรวจการได้ยิน ทดสอบการได้ยินก่อนใช้ เพื่อเลือกเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับระดับการสูญเสีย ขนาดลำโพงขยายเสียงที่พอดีกับผู้ใช้ และวิธีการดูแลรักษาเครื่องช่วยฟังที่ถูกวิธี จะช่วยให้เครื่องช่วยฟังมีประสิทธิภาพอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น

วิธีขอรับเงินอุดหนุนประกันสังคมสำหรับเครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save