การสูญเสียการได้ยินเป็นอย่างไร

 

     การสูญเสียการได้ยินเป็นการเจ็บป่วยเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า ผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป สูญเสียการได้ยินร้อยละ 70 ซึ่งเป็นความพิการที่พบมากที่สุดในกลุ่มประชากรสูงอายุ ส่งผลรบกวนต่อการดำรงชีวิตประจำวัน รวมทั้งความสามารถของผู้สูงอายุในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม นำไปสู่ปัญหาการแยกตัวออกจากสังคม ความสามารถทางร่างกายและการรับรู้ทางสติปัญญาลดลง รวมทั้งอาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้และประชากรที่สูญเสียการได้ยินเหล่านี้ค่อนข้างสัมพันธ์กับโรคบางโรค บทความนี้ จะพาคุณไปดูว่าการสูญเสียการได้ยินจะส่งผลอย่างไร?

รายการการสูญเสียการได้ยิน

และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง

สาเหตุ

ความเกี่ยวข้อง

ะดับความสำคัญ

1. การสูญเสียการได้ยินกับโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนโลหิต

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาในระดับหลอดเลือดขนาดเล็ก

⭐️⭐️⭐️

2.การสูญเสียการได้ยินกับความจำของสมอง

เมื่อได้ยินเสียงน้อยลง ประสาทรับรู้การได้ยินก็จะทำงานน้อยลง ส่งสัญญาณผิดพลาด สมองจึงทำงานน้อยลง  การที่สมองทำงานลดลงหรือเสื่อมถอยลง ก็จะทำให้สมองเสื่อมได้เร็วกว่าปกติ

⭐️⭐️⭐️⭐️

3. การสูญเสียการได้ยินกับความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ

การสูญเสียการได้ยินส่งผลกระทบต่อความสามารถทางด้านร่างกายลดลงจึงอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะและเสียการทรงตัว เกิดอุบัติเหตุหกล้ม อุบัติเหตุรถชน เป็นต้น

⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️

สาเหตุและความสัมพันธ์ระหว่างการสูญเสียการได้ยินกับโรคต่างๆ

1. ความสัมพันธ์ระหว่างการสูญเสียการได้ยินกับโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนโลหิต  โรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนโลหิต ได้แก่ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีการสูญเสียการได้ยินมากกว่าคนที่อายุน้อยหรือมีการควบคุมโรคเบาหวานดี ทั้งนี้เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาในระดับหลอดเลือดขนาดเล็กและประสาทรับความรู้สึก ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่หลอดเลือดในหูชั้นในซึ่งทำให้สูญเสียการได้ยินความถี่ต่ำได้ง่าย ทำให้เลือดไปเลี้ยงประสาทหูน้อยลง ทำให้ประสาทรับเสียงเสื่อมมากขึ้น หรือเร็วขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น และยังพบว่าโรคเบาหวานส่งผลกระทบต่อการสูญเสียการได้ยินมากกว่าการเปลี่ยนแปลงตามวัย หรือการได้รับเสียงดังเกินไป และปัจจัยอื่นๆ อีกด้วย

2.ความสัมพันธ์ระหว่างการสูญเสียการได้ยินกับความจำของสมอง  เมื่อได้ยินเสียงน้อยลง ประสาทรับรู้การได้ยินก็จะส่งสัญญาณไปยังสมองลดน้อยลงและอาจส่งสัญญาณผิดพลาด สมองจึงทำงานน้อยลง  การที่สมองทำงานลดลงหรือเสื่อมถอยลง ก็จะทำให้สมองเสื่อมได้เร็วกว่าปกติ ในขณะเดียวกันสามารถกระตุ้นและทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ หรือความจำและสมาธิสั้นได้ง่าย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำงานและคุณภาพชีวิตอย่างร้ายแรง รวมทั้งจะมีการแปรปรวนทางอารมณ์ร่วมด้วย

3.ความสัมพันธ์ระหว่างการสูญเสียการได้ยินกับความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ เนื่องจาก การสูญเสียการได้ยินส่งผลกระทบต่อความสามารถทางด้านร่างกายลดลง ทั้งนี้อาจร่วมกับการเปลี่ยนแปลงในหูชั้นกลางส่งผลเกี่ยวข้องกับความสามารถในการทรงตัวของร่างกาย ซึ่งเสื่อมลงตามอายุ ผู้สูงอายุจึงอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะและเสียการทรงตัว เกิดอุบัติเหตุหกล้ม อุบัติเหตุรถชน เป็นต้น

        ดังนั้น ปัญหาการได้ยินที่มีความสัมพันธ์กับโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อความสามารถทางด้านร่างกายลดลง การทำงาน และคุณภาพชีวิต ซึ่งเราสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดโรคเหล่านี้ได้โดยการใส่ใจในการรับประทานอาหารให้ดี ลดอาหารเค็ม ลดอาหารที่หวานเกินไป เครื่องดื่มบางประเภทที่มีสารกระตุ้นประสาท เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม งดสูบบุหรี่ เพราะนิโคตินอาจขัดขวางการลำเลียงเลือดไปยังประสาทหู เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการได้ยินในระยะยาวอีกด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save