ในฐานะแพทย์ คุณอาจจะเริ่มต้นด้วยการสอบถามผู้ป่วยว่าพวกเขาเคยรับการตรวจการได้ยินหรือไม่ นอกเหนือจากการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการตรวจและกระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่าคือ แพทย์ควรแจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียการได้ยิน รวมถึงความเสี่ยงอื่น ๆ เช่น โรคร่วมที่อาจถึงแก่ชีวิตได้
[ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 (ในสหรัฐอเมริกาประมาณ 95% จัดอยู่ในประเภทผู้ป่วยโรคเบาหวาน) มีโอกาสสูญเสียการได้ยินมากกว่าคนทั่วไป 2 เท่า]
แพทย์ควรอธิบายให้ผู้ป่วยทราบเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยินการวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงสูงในการสูญเสียการได้ยิน จากการตรวจสอบที่ความถี่ต่ำ,ความถี่กลาง,ความถี่สูง ผลสรุปออกมาว่า ในทุกความถี่แต่ละแบบนั้นส่งผลกระทบต่อการสูญเสียการได้ยิน โดยเฉพาะในส่วนของความถี่สูงที่ส่งผลกระกระทบค่อนข้างมากในส่วนของการสูญเสียความถี่ระดับแรกหรือระดับรุนแรงไปจนถึงความสูญเสียที่ความถี่ส่วนกลาง ในผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 399 คน มีประมาณ 21% ที่มีการสูญเสียการได้ยิน
เปรียบเทียบกันแล้ว ในกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีจำนวน 4,741 คน มีเพียง 9% เท่านั้นที่สูญเสียการได้ยิน เมื่อเทียบกับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินที่มีการสูญเสียเล็กน้อยหรือรุนแรงที่ความถี่สูง เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานประมาณ 54% มีการสูญเสียการได้ยิน ในขณะที่ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีมีประมาณ 32% ที่สูญเสียการได้ยิน
การศึกษาที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งเน้นถึงการตรวจสุขภาพระดับประเทศและการตรวจการได้ยินระหว่างปี 1999 ถึง 2004 ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากการทดสอบการได้ยินจากผู้เข้าร่วมมากกว่า 5,000 คน ในการศึกษานี้พบว่า ผู้ป่วยทั่วไปมีการสูญเสียการได้ยิน15% ในขณะที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานมีการสูญเสียการได้ยินถึง 30% การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการการคัดกรองและรีบเข้ารับการรักษาในระยะแรกเริ่มสามารถลดผลกระทบต่อการได้ยินของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานได้
[ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียการได้ยินมากกว่าคนทั่วไปถึง 2.15 เท่า ถ้าผู้ป่วยมีอายุต่ำกว่า 60 ปี ความเสี่ยงที่จะมีโอกาสสูญเสียการได้ยินจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.61 เท่า และสำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.58 เท่า]
จากวิจัยการตรวจการได้ยินของผู้ป่วยโรคเบาหวานชี้ให้เห็นว่า อาจเกิดโรคเบาหวานที่เป็นเหตุเกิดความผิดปกติทางกายภาพซึ่งส่งผลเสียหายต่อเส้นประสาทหูชั้นในของระบบการได้ยินและหลอดเลือด และทำให้เกิดการสูญเสียที่แบบประสาทสัมผัส ซึ่งรวมถึง:
ผลการวิจัยพบว่าโรคเบาหวานประเภท 2 พบการสูญเสียการได้ยินในระดับต่างๆ เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
[ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานแรกเริ่ม อาจมีการได้ยินปกติหรือบกพร่องเล็กน้อย และเริ่มเข้าสู่การสูญเสียการได้ยินที่ระบบประสาทอย่างช้าๆ]
[การสูญเสียการได้ยินที่ไม่รักษาอาจทำให้แย่ลง และการบกพร่องในการสื่อสารในที่ทำงานและการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอาจลดลงถึงขั้นก่อให้เกิดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า]
แพทย์ควรได้รับการสนับสนุนให้แจ้งผู้ป่วยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการสูญเสียการได้ยินและโรคเบาหวาน
แพทย์ต้องตระหนักว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยควรได้รับการตรวจสอบความสามารถในการได้ยินเป็นประจำ การทดสอบการได้ยินเพื่อระบุว่าเกิดความเสียหายหรือไม่ เป็นสิ่งสำคัญ ความเสียหายของการได้ยินอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคเบาหวานหรือโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบหัวใจและหลอดเลือด แพทย์ควรแนะนำผู้ป่วยให้รักษาสมรรถภาพการได้ยินหรือดูแลสุขภาพการได้ยินโดยทันที เพื่อรักษาสุขภาพร่างกายโดยรวม
เมื่อวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน แพทย์ควรเตือนว่าการสูญเสียการได้ยินเป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่ง และผู้ป่วยโรคเบาหวานควรได้รับการตรวจการได้ยินทุกปี หากพบว่าการได้ยินเสื่อมในระดับเริ่มต้น ควรพิจารณาการใช้เครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุดหรือทางเลือกการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามะเร็ง การสูญเสียการได้ยินมีความเชื่อมโยงกับการใช้ยาบางชนิดในการรักษา
“ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยินมีโอกาสที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ได้มากกว่าผู้ที่ได้ยินปกติ…
ผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินในความถี่ต่ำถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
Head Office 3,5 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เปิดทำการวันจันทร์-วันเสาร์ 09:00-18:00 น.
สำรองคิวล่วงหน้าหากต้องการมาในวันอาทิตย์
copyright © digibionic 2023 all rights reserved
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า