เรามักจะได้ยินประสบการณ์จากลูกค้าหลายคนที่เข้ามายังศูนย์บริการการได้ยินเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกเครื่องช่วยฟังใหม่ ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาพบว่าเครื่องช่วยฟังจากสิทธิบัตรทองไม่สามารถตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวันได้เต็มที่ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสถานที่ที่มีเสียงรบกวนมาก ๆ เช่น ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า หรือในพื้นที่ที่มีการสนทนาในกลุ่มใหญ่ ทำให้พวกเขาต้องการหาเครื่องช่วยฟังที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ความสามารถการจัดการเสียง | เครื่องช่วยฟังอนาล็อค | เครื่องช่วยฟังดิจิตอล |
เพิ่ม-ลด การขยายเสียง | ✓ | ✓ |
เสียงรบกวนรอบข้าง | ✗ | ✓ |
เสียงผู้ใช้ | ✗ | ✓ |
เสียงดัง | ✗ | ✓ |
เราจึงอยากแนะนำและอธิบายให้ชัดเจนเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องช่วยฟังแต่ละประเภท
เป็นสิทธิที่ดีอย่างมากเพราะสิทธิบัตรทางช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย แต่อาจมีจำนวนจำกัดและเสียงไม่เพียงพอต่อการใช้งานสื่อสาร ซึ่งโดยส่วนใหญ่จัดอยู่ในประเภทของเครื่องช่วยฟังอนาล็อค มีความสามารถในการขยายเสียง แต่ไม่สามารถแยกเสียงระหว่างเสียงพูดสนทนากับเสียงรอบข้างออกจากกัน ทำให้ความสามารถในการแยกแยะเสียงการฟังนั้นไม่คมชัดเท่าที่ควร ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้อยู่ในร้านอาหารที่มีเสียงคนพูดคุย เสียงจานชาม และเสียงเพลงเบา ๆ เครื่องช่วยฟังอนาล็อคจะขยายเสียงเหล่านี้ทั้งหมดเท่า ๆ กัน ทำให้ยากต่อการจับใจความในการสนทนาหรือแยกแยะเสียงที่สำคัญออกจากเสียงรบกวน
นอกจากนี้เครื่องช่วยฟังอนาล็อคยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการปรับแต่งเสียงให้เข้ากับความต้องการเฉพาะของผู้ใช้ ไม่สามารถปรับให้เหมาะกับการได้ยินของแต่ละคนได้อย่างละเอียดจึงส่งผลให้ประสิทธิภาพการฟังของผู้ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
เป็นอีกทางเลือกที่ค่อนข้างอิสระในการเลือกใช้เครื่องช่วยฟัง อิสระทางด้านลักษณะรูปแบบ,ราคา,การให้บริการ,รวมถึงประสิทธิภาพของเครื่องช่วยฟังแต่ละแบบ แต่ละประเภท ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะจัดอยู่ในประเภทดิจิตอลที่สามารถปรับความละเอียดเสียงและจัดการจำแนกเสียงระหว่างเสียงผู้ใช้,เสียงสนทนา,และเสียงรบกวน เพื่อให้มีประสิทธิภาพการฟังในสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดีขึ้น
เครื่องช่วยฟังดิจิตอลมีความสามารถในการแยกเสียงที่ดีขึ้นสามารถแยกแยะระหว่างเสียงสนทนาและเสียงรบกวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถได้ยินเสียงพูดชัดเจนขึ้นในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงรบกวน เช่น ในห้องประชุมที่มีคนหลายคนพูดพร้อมกัน เครื่องช่วยฟังดิจิตอลจะจับเสียงพูดที่ผู้ใช้ต้องการได้ดีกว่า และลดเสียงรบกวนจากรอบข้างให้น้อยลง
นอกจากนี้เครื่องช่วยฟังดิจิตอลยังมีฟังก์ชันการปรับแต่งเสียงที่ละเอียด ผู้ใช้สามารถปรับให้เหมาะสมกับการได้ยินของตนเองได้มากขึ้น รวมถึงการปรับความดังหรือโทนเสียงในสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดัง หรือที่ที่เงียบสงบ เครื่องดิจิตอลสามารถปรับเสียงให้เหมาะสมได้อัตโนมัติ ทำให้การฟังเป็นธรรมชาติและสะดวกสบายมากขึ้น
ลูกค้าหลายท่านแชร์ประสบการณ์ว่าก่อนหน้านี้ พวกเขาใช้เครื่องช่วยฟังอนาล็อคมักจะรู้สึกเหนื่อยเมื่อต้องพยายามฟังในที่ที่มีคนเยอะหรือเสียงดัง เพราะต้องคอยตั้งใจฟังมากเป็นพิเศษ แต่เมื่อได้เปลี่ยนมาใช้เครื่องช่วยฟังดิจิตอล พวกเขารู้สึกว่าการฟังและการสื่อสารเป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น ลดความเครียดและความเหนื่อยล้าลงได้อย่างชัดเจน
ลูกค้าอีกท่าน เดินทางมาจากต่างจังหวัดไม่ทราบมาก่อนว่าสามารถใช้สิทธิอะไรได้บ้าง หลังจากรับเครื่องช่วยฟังด้วยสิทธิบัตรทอง แม้จะพยายามปรับตัวแต่ก็ไม่สามารถทนเสียงหวีดได้ จึงได้เข้ามาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเรา และได้รู้ว่าสามารถใช้ประกันสังคมในการซื้อเครื่องช่วยฟังที่ร้านของเราได้ หลังจากใส่เครื่องช่วยฟังดิจิตอล ลูกค้าเล่าว่า “คุณแม่มีพัฒนาการได้ยินอย่างเห็นได้ชัด ไม่จำเป็นต้องพูดทวนหลายรอบ ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวดีขึ้นมากๆ”
และอาจารย์มหาลัยท่านหนึ่งใช้เครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุ แบบอนาล็อคที่ไม่สามารถปรับความละเอียดเสียงได้ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในการสื่อสารระหว่างการสอนและการทำงานต่างๆ หลังจากได้ลองเครื่องช่วยฟังดิจิตอล ผลทดสอบการได้ยินดีขึ้นถึง 40% ซึ่งนอกจากสิทธิประกันสังคมแล้วร้านเราสามารถใช้สิทธิข้าราชการได้ด้วยเช่นกัน ผลตอบรับหลังจากใช้งาน 1 เดือน อาจารย์รู้สึกมั่นใจขึ้น และสื่อสารได้โดยที่ไม่ต้องอ่านปากหรือพูดย้ำๆอีกเลย
สำหรับใครที่กำลังพิจารณาเครื่องช่วยฟัง คำแนะนำจากเรา คือควรทดลองใช้เครื่องช่วยฟังหลาย ๆ ประเภทก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ และที่ศูนย์บริการการได้ยิน Digibionic เรายินดีให้ลูกค้าทดลองใช้เครื่องช่วยฟังดิจิตอลได้ฟรี เพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์การฟังจริงและสามารถเปรียบเทียบกับเครื่องช่วยฟังที่มีอยู่เดิม
การเลือกเครื่องช่วยฟังไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังต้องพิจารณาถึงลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ใช้ การได้ลองใช้เครื่องช่วยฟังจริงจะช่วยให้ผู้ใช้ตัดสินใจได้ว่าประเภทไหนที่เหมาะสมกับตัวเองที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความสะดวกสบายในการสวมใส่ ประสิทธิภาพการฟังในสถานการณ์ต่าง ๆ รวมถึงความสามารถในการปรับแต่งเสียงให้เข้ากับการได้ยินของตนเอง
“ไม่มีเครื่องช่วยฟังประเภทไหนที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน เพราะความต้องการของแต่ละคนแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่รู้สึกว่าเครื่องช่วยฟังจากสิทธิบัตรทองไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ เราขอแนะนำให้ลองพิจารณาเครื่องช่วยฟังดิจิตอลจากศูนย์บริการการได้ยิน เพราะเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมจะสามารถมอบประสบการณ์การฟังที่คมชัดและเป็นธรรมชาติในหลากหลายสภาพแวดล้อม”
ท้ายที่สุดแล้ว ไม่มีทางเลือกไหนที่ด้อยไปกว่ากัน หากคุณมีโอกาสเราแนะนำทางเลือกศูนย์บริการการได้ยินที่ให้อิสระในการทดลองฟังเสียงเครื่องช่วยฟัง เพื่อพิจารณาเป็นอีกหนึ่งทางออกที่เหมาะสมกับตัวคุณ
3 วิธีในการเลือกเครื่องช่วยฟัง เครื่องช่วยฟังที่ราคาแพงมีคุณสมบัติมากมาย แต่เครื่องช่วยฟังราคาแพงอาจไม่เหมาะกับคุณ!
ทำไมราคาเครื่องช่วยฟังแต่ละรุ่นจึงแตกต่างกัน ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ราคาสูงขึ้นคือ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา รวมถึงความสามารถของเครื่องช่วยฟัง
ปัจจุบันพบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาทางด้านหัวตึงประสาทหูเสื่อมมากถึงร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุทั้งหมด เริ่มตั้งแต่อายุ 60 – 80 ปี โดยจะพบปัญหาประสาทหูเสื่อม
Head Office 3,5 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เปิดทำการวันจันทร์-วันเสาร์ 09:00-18:00 น.
สำรองคิวล่วงหน้าหากต้องการมาในวันอาทิตย์
copyright © digibionic 2023 all rights reserved
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า